วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

 

1) การวิเคราะห์หลักสูตร
        หมายถึง  เป็นเทคนิควิธีการ ที่จะช่วยให้ผู้สอนทราบว่า จะต้องสอนและประเมินผลอย่างไร จึงจะสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรแต่ละวิชากำหนดไว้
  2) การวิเคราะห์ผู้เรียน
      หมายถึง  การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความพร้อม ในกาเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้อง เลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน 
   3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย       หมายถึง  ในการจัดกิจกรรม ครูควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในลักษณะต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความสามารถเฉพาะที่ผู้เรียนแต่ละคนมีแตกต่างกัน  
   4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
       หมายถึง  การนำเอาเทคโนโลยีมาเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ให้เรียนห้ผู้เรียน
   5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
         หมายถึง การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง เป็นกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สามารถวัดได้ครอบคลุมทั้งเนื้อหาวิชา พฤติกรรม และผลผลิตของผู้เรียน
  6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ          
       จะทำให้ผู้ประเมินรู้ว่าผลการเรียนของเด็กแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใดและจะได้ปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความสามารถที่จะรับและเข้าใจเรื่องที่เรียนเพียงใดจะได้พัฒนาผู้เรียนอย่างถูกต้อง
  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน เป็นการทำวิจัยโดยครูผู้สอนในชั้นเรียน
เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการจัดประสบการณ์ของครู ถือได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานของครู


แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระ  สังคมศึกษา    ศาสนา  และวัฒนธรรม         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ศาสนา เวลา 11 ชั่วโมง
เรื่อง ศาสนา เวลา 1 ชั่วโมง
สาระที่ 1 : ศาสนา ศีลธรรม หลักธรรม
มาตรฐาน ส 1.1 : เข้าใจประวัติความสำคัญ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ
ศาสนาที่ตนนับถือ และสามารถนำหลักธรรมของศาสนามาเป็น
หลักปฏิบัติในการอยู่รวมกัน
สาระสำคัญศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย ศาสดาของศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี และสามารถนำหลักธรรมของศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง1. เล่าเกี่ยวกับการเกิดศาสนาและความสำคัญของศาสนาหรือศาสดาของศาสนาที่ตนนับถือได้
2. ปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือได้
3. บรรยายประโยชน์ของศาสนาที่มีต่อมนุษย์ได้
สาระการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้
1. ให้นักเรียนร้องเพลง วันมาฆะบูชา เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนแล้ว ครูสนทนาซักถามนักเรียนเกี่ยวกับศาสนาที่นักเรียนนับถือว่า ภายในห้องเรียนของเรามีเพื่อน ๆ ที่นับถือศาสนาอะไรบ้าง แล้วให้ร่วมอภิปรายเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดศาสนา
2. ให้นักเรียนดูภาพพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญ แล้วสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับศาสนา เช่น ในภาพเป็นพิธีกรรมในศาสนาใด (พุทธ) กิจกรรมนี้เรียกว่าอะไร (การทำบุญ) นักเรียนเคยทำบุญหรือไม่ ทำบุญ แล้วมีความรู้สึกอย่างไร
3. ให้นักเรียนเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา เช่น ไปทำบุญที่วัดกับผู้ปกครอง การเวียนเทียน การรักษาศีล การบวชพระ
4. ให้นักเรียนนำประสบการณ์ในข้อ 3 มาแสดงบทบาทสมมุติ แล้วศึกษาใบความรู้
5. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของศาสนา เขียนเป็นแผนผังความคิด ลงในใบงานที่ 1 เรื่อง องค์ประกอบ แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
6. นักเรียนทำใบงานที่ 2 ประโยชน์ของศาสนา
7. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงองค์ประกอบของศาสนา และประโยชน์ของศาสนา
กระบวนการวัดผลประเมินผล1. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
2. สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
3. การนำเสนอผลงาน
4. การตรวจผลงาน
เครื่องมือ
1. แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
2. แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล
3. แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
4. แบบประเมินการตรวจผลงาน
เกณฑ์การประเมิน
1. สังเกตการทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
2. สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
3. การนำเสนอผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
4. การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80


สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงาน
2.ใบความรู้
3. ห้องสมุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น