สนทนาเรื่องประวัติศาสตร์แบบครูมืออาชีพ กับ ดร. อ่องจิต เมธยะประภาส
ประเด็นสำคัญในบทความเรื่องนี้ก็คือ การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตัวนักเรียนเป็นหลักการเรียนนั้นไม่ใช่ว่าจะแค่เรียน ๆ ไปแค่ให้รู้แต่จะต้องเรียนแล้วต้องรู้คุณค่าของสิ่งที่เรียนสามารถที่จะวิเคราะห์ต่อยอดความคิดให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่เรียนไปเพื่อให้รู้รากเหง้าของตนเองเกิดความหวงแหนรักชาติมีความผูกพัน และไม่คิดทำร้ายชาติสามารถที่จะนำประสบการณ์จากอดีตมาเป็นแบบอย่างในปัจจุบัน สังคมขอเราเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม รับวัฒนธรรมจากที่อื่นมาแต่เราจะต้องไม่ทิ้งวัฒนธรรมของตนเอง ในสังคมปัจจุบันการมีสื่อที่ทันสมัยในหลายๆด้าน จะต้องจักการจัดการข้อมูลข่าวสาร จะเชื่อหรือไม่เชื่อจะต้องมีส่วนร่วมกันระหว่าครูกับนักเรียนร่วมกัน
การพัฒนาครูมืออาชีพการจะนำนักเรียนไปสู่การเรียนรู้ครูจะมีการทำอย่างไร มีการอบรมครูที่เป็นโครงการพัฒนาครู 4 ภูมิภาคเช่น การแบ่งครูออกเป็นกลุ่มให้เลือกสถานที่ที่สนใจ จะไปสืบอะไร ที่มาของประวัติ การแบ่งกลุ่มกันยังไง การนำเสนออย่างไร ประโยชน์ มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ถ้าในปัจจุบันจะแก้ปัญหานั้นอย่างไรให้อดีตเป็นบทเรียนอนาคตจะได้ไม่เสียหาย ต้องมีการนำผู้เรียนไปศึกษานอกสถานที่เป็นการสัมผัสประสบการณ์จริง ครูสามารถจะบูรณาการสอนร่วมรายวิชาอื่นได้
นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร
ครูที่ดีจะต้องมีใจที่เปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ต้องเริ่มจากการรู้จักพัฒนาตัวเองก่อนพัฒนาตนเองในทุกด้านให้มีความพร้อมเข้าใจทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบันมีการพัฒนาตนอยูเสมอตลอดเวลา การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญถือเป็นหัวใจหลักของการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เป็นการต่อยอดความคิดให้แก่เด็ก ได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่กับผู้อื่นอย่างมีความสูข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น